การตรวจหาสาเหตุการมีลูกยากในระดับเชิงลึก

ในบางกรณีการตรวจหาสาเหตุของภาวะมีลูกยากในเบื้องต้นไม่สามารถให้คำตอบในเรื่องของสาเหตุที่ทำให้ไม่มีบุตรได้ หรือกรณีที่สงสัยว่าสาเหตุของภาวะมีบุตรยากนั้นเป็นเรื่องของพังผืดในช่องท้อง พังผืดในโพรงมดลูก หรือกรณีที่สิ่งตรวจพบบางอย่างจากการตรวจเบื้องต้นน้ันให้ข้อมูลที่ไม่ชัดเจน เราจำเป็นต้องทำการตรวจค้นให้ละเอียดเพื่อประโยชน์ในการวางแผนการรักษาให้ถูกต้อง การตรวจค้นที่สำคัญได้แก่
การส่องกล้องในช่องท้อง และ/หรือ การส่องกล้องในโพรงมดลูก เป็นการตรวจค้นที่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่ติดกล้องที่ส่วนปลาย สอดเข้าไปในช่องท้องหรือโพรงมดลูก และตรวจหาความผิดปกติของการมีลูกยาก เช่นพังผืดในช่องท้อง พังผืดในโพรงมดลูก โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดท่ี มดลูกรูปร่างผิดปกติมาแต่กำเนิด เป็นหัตถการที่ต้องทำในห้องผ่าตัดภายใต้การให้ยาระงับความรู้สึกโดยวิสัญญีแพทย์

แท็บเล็ตป.1เป็นสื่อทันสมัยแต่มีปัญหาสายตา

สำนักงานสถิติแห่งชาติ เผยผลสำรวจความคิดเห็นผู้บริหาร ครูผู้สอน ในโครงการแจกแท็บเล็ตเด็ก ป.1 พบว่า แท็บเล็ตเป็นสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย จูงใจให้เด็กสนใจเรียน แต่มีผลเสียในเรื่องสายตา สุขภาพ และออกกำลังกายน้อยลง แนะควรแจกเครื่องที่มีคุณภาพมากกว่านี้

นายวิบูลย์ทัต สุทันธนกิตติ์ ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยผลการสำรวจความพึงพอใจเกี่ยวกับนโยบายการแจกแท็บเล็ตเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พ.ศ. 2556 พบว่า ผู้ บริหารและครูผู้สอนของโรงเรียนที่อยู่ในข่ายของการจะได้รับการจัดสรรเครื่องแท็บเล็ต ส่วนใหญ่ ร้อยละ 96.4 และร้อยละ 92.5 พึงพอใจต่อนโยบายการแจกเครื่องแท็บเล็ตให้เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในระดับปานกลางถึงมากที่สุด ส่วนผู้บริหารและครูผู้สอนที่พึงพอใจในระดับน้อยถึงน้อยสุด มีร้อยละ 3.6 และร้อยละ 7.5 ตามลำดับ

นอกจากนี้ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนเห็นว่านโยบายการแจกเครื่องแท็บเล็ต มีผลดี 3 อันดับแรก ได้แก่ มีสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย จูงใจให้เด็กอยากเรียนรู้ และสนใจการเรียนมากขึ้น ร้อยละ 93.1 และร้อยละ 87.5 ทำให้เด็กมีโอกาสเรียนรู้พื้นฐานในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวนร้อยละ 85.8 และร้อยละ 83.4 และทำให้เด็กเรียนรู้ก้าวทันโลกโลกาภิวัตน์ การเรียนรู้ไม่จำกัด เวลาและสถานที่ ร้อยละ 82.5 และร้อยละ 78.9

ส่วนผลเสีย 3 อันดับแรก ได้แก่ มีปัญหาเรื่องสายตา ปัญหาด้านสุขภาพ ออกกำลังกายน้อยลง ร้อยละ 56.5 และร้อยละ 59.4 ไม่เหมาะกับวุฒิภาวะของเด็กนักเรียนชั้น ป.1 เพราะจะทำให้ทักษะการใช้มือ เขียนไม่เป็น ร้อยละ 53.6 และร้อยละ 53.2 และมีโอกาสอยู่ในโลกไซเบอร์ (Cyber) มาก ทำให้ขาดมนุษยสัมพันธ์ ลดการเล่นกับ เพื่อน ๆ ร้อยละ 45.0 และร้อยละ 44.6 ทั้งนี้ ผู้บริหารของโรงเรียนได้ให้ข้อเสนอแนะต่อการใช้เครื่องแท็บเล็ตให้เกิดประสิทธิภาพ ได้แก่ ควรเพิ่มเนื้อหาสาระ แบบฝึกหัดลงในโปรแกรมให้มากขึ้น ควรแจกเครื่องแท็บเล็ตที่มีคุณภาพ และจัดอบรมครูผู้สอนในเรื่องการใช้เพิ่มเติม

ที่มา : เดลินิวส์